ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ครูมอนสอนสังคม แหล่งรวมความรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีการมอนในรูปแบต่างๆ

ปิดตำนานคลื่นวิทยุSEED FM พิษสภาพคล่อง-คนฟังหาย

   
ภาพข่าวจากอินเทอร์เน็ต

             ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีไรสาย ที่เรียกว่าอิเทอร์เนต เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น วิถีชีวิตแบบเดิมๆหลายๆอย่างจึงเริ่มเปลี่ยนไป  ที่พอมีอยู่บ้างก็ต้องปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลง ถ้าปรับไม่ทันก็ต้องมีอันล้มหายกันไปเลย....วันนี้ครูมอนสอนสังคม จะพาทุกๆคนย้อนวันวานกันไปหาอดีตกันครับ..
                                                                                                                                                                  
             ถ้าจะพูดถึงเรื่องของ วิทยุ ก้คงต้องย้อนกันไปไกล ราว 40 ถึง 50 ปีก่อน เอาเป็นว่าย้อนไปตอนที่ครูมอนยังเป็นเด็กๆดีกว่า สมัยก่อนตอนเป็นเด็กต่างจังหวัด ก็พอมีเพื่อนๆในวัยเดียวกันจบกลุ่มเล่นตามประสา พอร้อนหน่อยก็กระโดดน้ำห้วย เล่นกันให้พอคลายร้อน เรื่องของทีวีนะหรือไม่ต้องพูดถึง ยังไม่มีให้ดูเท่าไหร่ เพราะตอนนั้นไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงตัวบ้าน ที่ปลูกไว้กลางสวนยางพารา สิ่งเล็กๆที่ทำให้คลายเหงาได้ยามไม่มีเพื่อนมาคอยให้ไล่จับ นั่นคือ  วิทยุทรานซิสเตอร์ ที่แม่เปิดฟังยามว่าง
วิทยุทรานซิสเตอร์
 เสียงเล็กๆแหลมๆของหญิงสาวและเสียงก้องกังวาลน่าฟัง จินตนาการแล้วคงเป็นหนุ่มหล่อหน้าคม  ถ้าเป็นหน้าเป็นๆคงสวย คงหล่อน่าดู  ที่พูดมานี้คือเสียงจากละครวิทยุ ยามบ่ายแก่ๆ ที่แม่ชอบเปิดฟัง ทำให้ผมต้องหลงรักติดตามไม่ให้ขาดตอน  มีทั้งละครรัก ละครผี ชวนให้ติดตาม เพลงหรือไม่ต้องพูดถึง เพลงลูกทุ่งล้วนๆๆๆ
             พอโตมาหน่อยในวัยประถมปลายๆ พอจำได้ลางๆว่า  วิทยุทรานซิสเตอร์ เริ่มหายไป
พร้อมกับการเข้ามาแทนที่ของ ซาวเบาท์ ซาวเบาท์ ยุคนั้นก็สามารถฟังวิทยุ ได้ทั้งคลื่น
AM และ FM ที่เพิ่มเติมแตกต่างจากวิทยุทรานซิสเตอร์ ก็คือ สามารถเล่นเทปคลาสเซท
เปิดเพลงวัยโจ๋ยอดนิยมยุคนั้นได้ เด็กๆคนไหนมี
ซาวเบาท์ คาดเอวไว้ ถือว่าโก้น่าดู จะฟังเพลงจากเทปคลาสเซท หรือจะฟังจากคลื่นวิทยุ ก็ดูเก๋ไม่หยอก

ซาวเบาท์ ยุคแรกๆ



ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไปเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆเริ่มก้าวหน้า จากซาวเบาท์ก็พัฒนามาเป็น MP3
บ้าง เครื่องเล่นต่างๆบ้าง........
......ติดตามต่อสัปดาห์ต่อไป.....

การศึกษา



More »

ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว



More »