ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ครูมอนสอนสังคม แหล่งรวมความรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีการมอนในรูปแบต่างๆ

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

                  ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
                

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็
หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้
เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน (มีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ จะแลกด้วยสิ่งของหรือชำระด้วยเงินก็ได้)
การแบ่งประเภทของตลาด  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

      
1. ตามชนิดของสินค้า
            - สินค้าทางการเกษตร เช่น ตลาดค้าส่งผลไม้พืชผัก (ตลาดไท  ตลาดสี่มุมเมือง)
            - สินค้าอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อะไหล่ เครื่องมือ  (ตลาดเซียงกง-จำหน่วยอะไหล่ระยนต์มือสอง)
ตลาดค้าส่งผลไม้ตามฤดูกาล (ตลาดไท)
2. แบ่งตามลักษณะการจำหน่าย
            - ตลาดค้าส่ง  (ห้างแมคโคร  สำเพ็ง  ประตูน้ำ  โบ๊เบ๊  ปากคลองตลาด ตลาดไท)
            - ตลาดค้าปลีก  (ห้างโลตัส บิ๊กซี  คลองถม ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา   ตลาดนัดรถไฟ )
   

ปากคลองตลาด (ตลาดค้าส่งดอกไม้ใจกลางกรุงเทพ : ภาพจากอินเทอรืเน็ต)
3. แบ่งตามลักษณะการแข่งขันที่มีอยู่ในตลาด
        ตลาดแข่งขันสมบูรณ์  คือ  ตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
                 - มีผู้ขายจำนวนมาก
                 - lินค้าที่ขายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
                 - การเข้าออกตลาดทำได้อย่างเสรี สะดวก ง่ายดาย
                 - สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเท่าเทียมกัน
                 - การค้าในตลาดไม่มีข้อได้เปรียบจากปัจจัยภายนอก
                 - กลไกราคาทำงานเต็มที่   **
         ตลาดประเภทนี้ได้แก่  ตลาดผลผลิตทางการเกษตร  ตลาดวัตถุดิบ
ตลาดสี่มุมเมือง (รังสิต) แหล่งสินค้าทางการเกษตร
        ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์  คือ  ตลาดที่มีระดับการแข่งขันแตกต่างกัน มี 3 ประเภท

กิจการไฟฟ้า

                   ตลาดผูกขาด หมายถึง ตลาดที่มีผู้ขายเป็นผู้ผูกขาดกำหนดราคาได้เต็มที่มีลักษณะดังนี้
 
-  มีผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียว
 -  ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้
 -   การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก เช่น กิจการไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา โรงงานยาสูบ เป็นต้น ตลาดผูกขาดไม่มีคู่แข่งด้วยสาเหตุการสัมปทาน เป็นต้น

ตลาดผู้ขายน้อยราย หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนน้อย มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีจำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่มาก
- สินค้าอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
- การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก
เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ เหมืองแร่ บริษัทน้ำอัดลม ปูนซีเมนต์ หนังสือพิมพ์

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด หมายถึง ตลาดที่ผู้ผลิตและผู้ขายบางรายมีอำนาจในการกำหนดราคาได้บ้างในกรณีที่สามารถทำให้ลูกค้าพอใจได้เป็นพิเศษ ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดคล้ายตลาดแข่งขันสมบูรณ์แต่บางส่วนคล้ายตลาดผูกขาด
ลักษณะสำคัญมีดังนี้
- มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนมาก
- สินค้าของผู้ผลิตแตกต่างกันแต่ใช้แทนกันได้
- การเข้าและออกจากตลาดทำได้ง่าย ไม่ถูกกีดกัน
เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก บริการซ่อมอุปกรณ์ทุกชนิด

สงครามราคา (
price war)
สงครามราคา หมายถึง   การแข่งขันกันลดราคาสินค้าอย่างรุนแรง ซึ่งมักปรากฏในตลาดผู้ขายน้อยราย เมื่อเกิดการตัดราคาอาจทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอกว่าขาดทุนจนถึงขั้นออกจากตลาด และเหลือคู่แข่งเพียงรายเดียว เป้าหมายเพื่อกำหนดราคา (
price maker)
 

22 ธันวาคม วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

21 ธันวาคม 2558
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 22 ธันวาคมนี้ เป็นวันเหมายัน (เห-มา-ยัน) กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
        รองศาสตราจารย์ บุญรักษา  สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่าในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฎในตำแหน่งต่างๆ กัน ประมาณวันละ 1 องศา ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงกลางวันจะสั้นและช่วงกลางคืนจะยาวนานที่สุดในรอบปี  ภาษาสันสกฤตเรียกว่า “วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) สำหรับประเทศไทยจะเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06:36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที เท่านั้น เราจึงรู้สึกว่าท้องฟ้าจะมืดเร็วกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของปี ประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ

             รศ.บุญรักษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ทำให้โลกมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปี ช่วงที่ใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ช่วงที่ไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร)  การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้าง นั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของใกล้-ไกล ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมากจึงไม่ได้มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศา เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ส่วนต่างๆ ของโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ใน 1 ปี เกิดฤดูกาลต่าง ๆ
                                         
ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์บนระนาบสุริยะวิถี


           เนื่องจากแกนโลกไม่ได้ตั้งตรงแต่เอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของดวงอาทิตย์ ทำให้ระยะเวลา 1 ปี ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ดังนี้
        1. วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ- วัด) (Vernal Equinox) ตรงกับวันที่ 21 มี.ค. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าย่างสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
        2. วันครีษมายัน (ครี-สะ- มา-ยัน) (Summer Solstice) ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.หรือ 22 มิ.ย. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว  3. วันศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 ก.ย. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าย่างสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
        4. วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) ตรงกับวันที่ 21 ธ.ค.หรือ 22 ธ.ค. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า“ตะวันอ้อมข้าว” สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

ที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning ) แบบ Mobile Learning โดยใช้ Gamification



ชื่อผลงาน การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning ) แบบ Mobile Learning   โดยใช้  Gamification”       

อธิบายแนวคิดในการออกแบบ  เป็นการสอนในรูปแบบ  Flipped Classroom  (ห้องเรียนกลับด้าน) โดยเน้นการบวนการพัฒนาทักษะการคิด แนวคิดหลักของ "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง และเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนโดยไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น โดยมีการนำ social media มากระตุ้นความสนใจ โดยสร้าง Fanpage Facebook ในชื่อ ครูมอนสอนสังคม  หรือ  
http://www.facebook.com/trainermorn  มีการโต้สอบ แนะนำ ผ่าน Fanpage นำ Gamigication มาใช้ผ่านระบบ mobile กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ผ่านเกมส์ อาทิ จากเว็บไซต์ kahoot.it  หรือ  การทำข้อสอบออนไลน์ผ่าน  Google  Form



ประเด็นการพัฒนา

            เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสร้างทัศนคติที่ดีของนักเรียนที่มีต่อวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบผสมผสาน (
Blended  Learning)      แบบ Mobile Learning  โดยใช้ Gamification มาช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน

กลุ่มตัวอย่าง    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
3

สาเหตุการพัฒนา
         1. ครูสอนแบบบรรยาย เน้เนเนื้อหามากเกินไป ทำให้นักเรียนไม่สนใจรู้สึกเบื่อ
        
2. สาระภูมิศาสตร์ เข้าใจยาก ไกลตัว ไม่น่าสนใจ
        
3. กระตุ้นความสนใจของบทเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความอยากเรียนรู้
        
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา


ขั้นตอน
/วิธีการพัฒนา
       
  1. นักเรียนศึกษาความรู้จากบทเรียน  แล้วช่วยตั้งโจทย์คำถามและสรุปความรู้ร่วมกัน ผ่านเพจ ครูมอนสอนสังคม  http://www.facebook.com/trainermorn
        2. ครูนำความรู้จากการช่วยกันสรุปค้นคว้า มาคัดเลือกเป็นคำถามสำหรับนำมาใช้ใน Gamification ผ่านเกมส์ จากเว็บไซต์ kahoot.com (ใช้เกมกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้)
       
3. นำ Gamification มาใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน  (Mobile Learning ) นักเรียนช่วยกันแข่งขันตอบปัญหาจากคำถามที่ตั้งขึ้น
        4. นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้จากการตอบคำถามจากเกม โดยมีครูช่วยเสริมความรู้


ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนา
      
  1. ผู้เรียนกระตือรือร้น  สนใจเรียน  และมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น
       
2. ผู้เรียนมีการพัฒนาการคิด  ทั้งความคิดสร้างสรรค์  และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
        
3. ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านจิตใจ  เกิดความเห็นใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
       
4. ผู้เรียนและครูได้โต้ตอบ  หรือสอบถามข้อสงสัย  และทบทวนความรู้  ผ่านเพจ
          
ครูมอนสอนสังคม


หลักฐาน/ชิ้นงาน
        
- ชิ้นงานการประกอบลูกโลกจำลอง
        
- Lob box  ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกา







การสร้างห้องเรียนออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ ClassDoJo

        การสร้างห้องเรียนออนไลน์ ด้วย ClassDoJo  คือการสร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครอง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ผ่านห้องเรียนออนไลน์ ที่ครูได้สร้างขึ้น โดยการเพิ่มชื่ออนักเรียนเข้าสู่ชั้นเรียนที่สร้างไว้
     

สร้างวัฒนธรรมในเชิงบวก

ครูสามารถส่งเสริมให้นักเรียนสำหรับทักษะหรือค่าใด ๆ - ไม่ว่าจะทำงานอย่างหนักเป็นชนิด, การช่วยเหลือผู้อื่นหรือสิ่งอื่นใด

ให้นักเรียนแบ่งปัน

นักเรียนสามารถแสดงและแบ่งปันการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการเพิ่มภาพถ่ายและวิดีโอไปยังห้องเรียนได้ด้วยตัวของตัวเอง




ช่วงเวลาร่วมกับผู้ปกครอง

พ่อแม่ได้รับการมีส่วนร่วมโดยการแบ่งปันภาพถ่ายและวิดีโอของช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมในชั้นเรียน






ประวัติ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ 

ประวัติส่วนตัว
- คู่สมรส ทันตแพทย์หญิง สุภาพร เจริญเศรษฐศิลป์

ประวัติการศึกษา
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน แผนกจิตเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ประวัติการทำงาน
          - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2559)
          - 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2558 - 15 ธันวาคม2559)
          - ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ
          - คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา (Super board) 
          - 
ด้านการแพทย์ เป็นคนไทยที่ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (Royal College of Psychiatrists) ขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็นจิตแพทย์เด็กอาวุโสที่เมือง Colchester
          - อาจารย์กิตติมศักดิ์อาวุโส UCL และ Royal Free Medical School มหาวิทยาลัยลอนดอน
          - อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม) พ.ศ.2535 
          - รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านการศึกษา
         - ผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ
         - ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนตัวอย่างในการพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรม
         - การศึกษาอิทธิผลของโรงเรียนต่อพัฒนาการเด็ก
         - ผลงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กุญแจในการปฏิรูปการศึกษา 
          - ทำงานด้านการศึกษาร่วมกับองค์กรอื่นๆ เช่น สสค., Cambridge English Language Assessment เป็นต้น
ด้านอื่นๆ
         - เขียนหนังสือเรื่อง “ความฉลาดทางด้านจริยธรรมและศีลธรรม (MQ)”


ที่มา : http://www.moe.go.th/

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี


ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ชุดใหม่ หลังรัฐมนตรีบางส่วนเข้ารับตำแหน่งองคมนตรี
วันนี้ (16 ธ.ค.2559) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
              สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า ได้มีรัฐมนตรีลาออกบางตําแหน่ง และสมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตําแหน่ง เพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
       หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล      รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี    พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
       นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ        รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี    พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
       นายออมสิน ชีวะพฤกษ์           รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
       นายสุวิทย์ เมษินทรีย์              รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
       นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  
                                                 พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี    
       นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ      พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
       นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม          พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
         นายออมสิน ชีวะพฤกษ์           เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี  
         นายสุวิทย์ เมษินทรีย์             เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
         นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล           เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
         นางสาวชุติมา บุณยประภัศร  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์
         นายพิชิต อัคราทิตย์             เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
         นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์        เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
         นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์       เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
         นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ       เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
         นางอรรชกา สีบุญเรือง           เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  
         นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล       เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         นายอุตตม สาวนายน              เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                     ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
                                                                                      ผู้รับสนองพระราชโองการ
                                                                                     พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                             นายกรัฐมนตรี


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชกฤษฎีกา อภัยโทษผู้ต้องขัง


เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.59 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๕๕๙  โดยมีใจความว่า        


             สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดําริเห็นว่า เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเป็น การแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตน เป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 และมาตรา 261 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2517 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
                มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559
               มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
                  มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้ 
                 “ผู้ต้องกักขัง”
หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจําคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ   “ผู้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับตามมาตรา 30/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคําสั่งศาลและมิได้กระทําผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด  “ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพักการลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจําทหาร หรือได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษหรือการลดวันต้องโทษจําคุกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 
              “นักโทษเด็ดขาด”
หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจําทหาร
                กําหนดโทษ หมายความว่า กําหนดโทษที่ศาลได้กําหนดไว้ในคําพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือกําหนดโทษตามคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกําหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น
               ต้องโทษจําคุกเป็นครั้งแรก หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุกไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทําความผิดอีก
ตามมาตรา 92 หรือมาตรา 93 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น














การศึกษา



More »

ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว



More »