ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็
หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้
เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน (มีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ จะแลกด้วยสิ่งของหรือชำระด้วยเงินก็ได้)
การแบ่งประเภทของตลาด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. ตามชนิดของสินค้า
- สินค้าทางการเกษตร เช่น ตลาดค้าส่งผลไม้พืชผัก (ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง)
- สินค้าอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อะไหล่ เครื่องมือ (ตลาดเซียงกง-จำหน่วยอะไหล่ระยนต์มือสอง)
![]() |
ตลาดค้าส่งผลไม้ตามฤดูกาล (ตลาดไท) |
- ตลาดค้าส่ง (ห้างแมคโคร สำเพ็ง ประตูน้ำ โบ๊เบ๊ ปากคลองตลาด ตลาดไท)
- ตลาดค้าปลีก (ห้างโลตัส บิ๊กซี คลองถม ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา ตลาดนัดรถไฟ )
ปากคลองตลาด (ตลาดค้าส่งดอกไม้ใจกลางกรุงเทพ : ภาพจากอินเทอรืเน็ต) |
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
- มีผู้ขายจำนวนมาก
- lินค้าที่ขายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
- การเข้าออกตลาดทำได้อย่างเสรี สะดวก ง่ายดาย
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเท่าเทียมกัน
- การค้าในตลาดไม่มีข้อได้เปรียบจากปัจจัยภายนอก
- กลไกราคาทำงานเต็มที่ **
ตลาดประเภทนี้ได้แก่ ตลาดผลผลิตทางการเกษตร ตลาดวัตถุดิบ
![]() |
ตลาดสี่มุมเมือง (รังสิต) แหล่งสินค้าทางการเกษตร |
![]() |
กิจการไฟฟ้า |
ตลาดผูกขาด
หมายถึง ตลาดที่มีผู้ขายเป็นผู้ผูกขาดกำหนดราคาได้เต็มที่มีลักษณะดังนี้
- มีผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียว
- ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้
- การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก เช่น กิจการไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา โรงงานยาสูบ เป็นต้น ตลาดผูกขาดไม่มีคู่แข่งด้วยสาเหตุการสัมปทาน เป็นต้น
ตลาดผู้ขายน้อยราย หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนน้อย มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีจำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่มาก
- สินค้าอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
- การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก
เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ เหมืองแร่ บริษัทน้ำอัดลม ปูนซีเมนต์ หนังสือพิมพ์
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด หมายถึง ตลาดที่ผู้ผลิตและผู้ขายบางรายมีอำนาจในการกำหนดราคาได้บ้างในกรณีที่สามารถทำให้ลูกค้าพอใจได้เป็นพิเศษ ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดคล้ายตลาดแข่งขันสมบูรณ์แต่บางส่วนคล้ายตลาดผูกขาด
ลักษณะสำคัญมีดังนี้
- มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนมาก
- สินค้าของผู้ผลิตแตกต่างกันแต่ใช้แทนกันได้
- การเข้าและออกจากตลาดทำได้ง่าย ไม่ถูกกีดกัน
เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก บริการซ่อมอุปกรณ์ทุกชนิด
สงครามราคา (price war)
สงครามราคา หมายถึง การแข่งขันกันลดราคาสินค้าอย่างรุนแรง ซึ่งมักปรากฏในตลาดผู้ขายน้อยราย เมื่อเกิดการตัดราคาอาจทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอกว่าขาดทุนจนถึงขั้นออกจากตลาด และเหลือคู่แข่งเพียงรายเดียว เป้าหมายเพื่อกำหนดราคา (price maker)
- มีผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียว
- ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้
- การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก เช่น กิจการไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา โรงงานยาสูบ เป็นต้น ตลาดผูกขาดไม่มีคู่แข่งด้วยสาเหตุการสัมปทาน เป็นต้น
ตลาดผู้ขายน้อยราย หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนน้อย มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีจำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่มาก
- สินค้าอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
- การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปได้ยาก
เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ เหมืองแร่ บริษัทน้ำอัดลม ปูนซีเมนต์ หนังสือพิมพ์
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด หมายถึง ตลาดที่ผู้ผลิตและผู้ขายบางรายมีอำนาจในการกำหนดราคาได้บ้างในกรณีที่สามารถทำให้ลูกค้าพอใจได้เป็นพิเศษ ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดคล้ายตลาดแข่งขันสมบูรณ์แต่บางส่วนคล้ายตลาดผูกขาด
ลักษณะสำคัญมีดังนี้
- มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนมาก
- สินค้าของผู้ผลิตแตกต่างกันแต่ใช้แทนกันได้
- การเข้าและออกจากตลาดทำได้ง่าย ไม่ถูกกีดกัน
เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก บริการซ่อมอุปกรณ์ทุกชนิด
สงครามราคา (price war)
สงครามราคา หมายถึง การแข่งขันกันลดราคาสินค้าอย่างรุนแรง ซึ่งมักปรากฏในตลาดผู้ขายน้อยราย เมื่อเกิดการตัดราคาอาจทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอกว่าขาดทุนจนถึงขั้นออกจากตลาด และเหลือคู่แข่งเพียงรายเดียว เป้าหมายเพื่อกำหนดราคา (price maker)