ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ครูมอนสอนสังคม แหล่งรวมความรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีการมอนในรูปแบต่างๆ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ GPS

ระบบ GPS

ความหมาย
GPS เป็นระบบดาวเทียมที่ออกแบบและจัดสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการนำทาง (Navigation)
GPS คือ ระบบบอกพิกัดบนพื้นโลกโดยใช้ดาวเทียม การรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่เต็มท้องฟ้า 24 ดวงรับสัญญาณอย่างน้อยต้อง 3 ดวง
GPS เป็นเครื่องมือหาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์บนพื้นผิวโลกโดยอาศัยสัญญาณอ้างอิงจากระบบดาวเทียม ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจีพีเอส โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกอย่างเป็น ทางการว่า เครื่องมือหาพิกัดด้วยดาวเทียม
ระบบการส่งสัญญาณของGPS
องค์ประกอบหลักของระบบ GPS1. ระบบดาวเทียมในวงโคจรรอบโลก (The Space segment)
2. สถานีควบคุม (The Control segment)
3. ผู้ใช้งานสัญญาณจีพีเอส (The User segment)
หลักการทำงานของระบบ GPS

GPS บอกพิกัดบนพื้นโลกโดยใช้ดาวเทียม การรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่เต็มท้องฟ้า 24 ดวง รับสัญญาณอย่างน้อยต้อง ดวง GPS เป็นเครื่องมือหาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณอ้างอิงจากระบบดาวเทียม ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจีพีเอสโดยเฉพาะ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เครื่องมือหาพิกัดด้วยดาวเทียม” GPS ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ
ประเภทของเครื่องรับ GPS

 เครื่องรับสัญญาณ  GPS  แบ่งออกได้เป็น  2กลุ่ม  คือเ ครื่องประเภทที่สามารถรับดาวเทียมได้ ดวง หรือมากกว่าได้พร้อมกันทีเดียว กับเครื่องที่มีการรับดาวเทียมโดยการเรียงลำดับ และแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยได้อีกคือ
        1. เครื่องรับแบบเรียงลำดับสัญญาณดาวเทียม ปกติเครื่องรับ GPS จะต้องมีข้อมูลจากดาวเทียมอย่างน้อย ดวง จึงสามารถคำนวณหาตำแหน่งที่ได้ เครื่องรับที่ใช้เรียงลำดับใช้ช่องรับ
สัญญาณเพียงช่องเดียว รับข้อมูลจากดาวเทียมดวงหนึ่งระยะหนึ่งแล้วเปลี่ยนไปยังอีกดวงหนึ่ง เครื่องประเภทนี้จะมีแผงวงจรเล็ก ดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าและใช้กำลังน้อยกว่า ข้อเสียของการเรียงลำดับสัญญาณอาจเกิดขาดตอนและทำให้มีผลต่อความถูกต้องของผลที่ได้ ในกลุ่มนี้จะมี "Starved Power" Single-Channel Receivers, Two Chanel Receivers, และเครื่องแบบเก่า Fast-Multiplexing Single Receivers  

    1.1  Starved-Power Single Receivers    เครื่องแบบนี้ออกแบบให้พกพาได้และสามารถ   ทำงานได้ด้วยถ่านไฟฉายขนาดเล็ก การจำกัดการใช้กระแสไฟโดยให้ปิดการทำงานตัวเองโดยอัตโนมัติ เมื่อแสดงตำแหน่งครั้งสองครั้งใน 1นาที   เหมาะสำหรับใช้งานบอกตำแหน่งส่วนตัว เช่น นักไต่เขาหรือแล่นเรือในเวลากลางวัน โดยไม่ต้องมีถ่านไฟฉายหลายก้อน นับว่าเป็นเครื่องที่ใช้การได้ สามารถให้ความถูกต้องที่ดีกว่าระบบ   LORAN และทำงานได้ทุกที่บนโลก        ข้อเสีย คือ ความถูกต้องของ GPS ไม่ดี และต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้ และไม่ สามารถใช้วัดหาความเร็วได้ การที่หาความเร็วไม่ได้ เนื่องจากต้องปิดเครื่องเองในระหว่างการวัด   เพราะว่าเครื่องใช้แผงวงจรนาฬิกาที่กินไฟน้อย (นาฬิกาจะต้องเดินอยู่ตลอดเวลา) นาฬิกาที่ใช้จึงไม่ให้ความถูกต้องเท่าที่ควร   

    1.2 Single Channel Receivers   เหมือนกับแบบค่าข้างบน เป็นเครื่องรับสัญญาณห้องเดียวใช้ทำงานหาระยะจากดาวเทียมทุกดวง แต่ที่ไม่เหมือนคือเครื่องรับช่องเดียวแบบมาตรฐานไม่จำกัดที่กำลังไฟ ดังนั้นจึงทำการรับต่อเนื่องได้ มีผลทำให้ความถูกต้องสูงกว่า และใช้วัดหาความเร็วได้     จากที่มีเพียงช่องเดียวที่ต้องใช้ทั้งการรับข้อมูลดาวเทียมและคำนวณหาระยะ จึงไม่สามารถหาตำแหน่งต่อเนื่องได้        ยิ่งกว่านั้นตามเหตุผลของวิชาการ ความไม่เที่ยงตรงของนาฬิกามีผลโดยตรงต่อความถูกต้องของการวัดหาความเร็ว เครื่องราคาถูกบางชนิดใช้นาฬิการาคาถูกเพื่อให้ราคาเครื่องลดลง จึงทำให้ค่าความเร็วที่แสดงมาเชื่อถือไม่ได้   

    1.3 Fast-Multiplexing Single Receivers   เครื่องประเภทนี้เหมือนกับเครื่องทั้งสองประเภทข้างบนซึ่งรับช้า แต่เครื่องรับนี้สามารถเปลี่ยนดาวเทียมได้เร็วกว่ามาก ข้อดี คือ สามารถทำการวัดได้ในขณะที่กำลังรับข้อมูลจากดาวเทียม ดังนั้นเครื่องทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และการที่มีนาฬิกาไม่เที่ยงจึงมีผลต่อเครื่องประเภทนี้น้อย        เครื่องแบบนี้ต้องการใช้แผงวงจรที่ค่อนข้างซับซ้อนและราคาพอ ๆ กับเครื่องแบบสองช่องรับสัญญาณที่ใช้เครื่องซึ่งให้ความถูกต้องสูงกว่าและมีลักษณะการยืดหยุ่นการใช้งานได้ดีกว่า

        1.4  Two-Channel Sequencing Receivers   การเพิ่มช่องรับสัญญาณขึ้นอีกหนึ่งช่องช่วยให้เครื่องเพิ่มขีดความสามารถขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อหนึ่งความแรงสัญญาณ Signal-to-Noise เป็นสองเท่าทันที หมายถึงสามารถจับสัญญาณภายใต้สภาวะที่ไม่ดีได้และสามารถรับดาวเทียมดวงที่อยู่ระดับต่ำใกล้เส้นขอบฟ้าได้        จากการที่ช่องหนึ่งสามารถรับข้อมูลตำแหน่งอย่างต่อเนื่องได้ในขณะที่อีกช่องหนึ่งค้นหาดาวเทียมดวงต่อไป เครื่องแบบสองช่องนี้จะทำงานแบบนำร่องได้โดยไม่ต้องมีการขาดตอน และความเร็วก็จะมีค่าที่ถูกต้องขึ้น ความจริงเครื่องรับสองช่องที่มีคุณภาพดีก็สามารถใช้คำนวณหาและตัดค่าที่เวลาของนาฬิกาเครื่องรับไม่ดีทิ้งเพื่อใช้ในการวัดหา
ความเร็ว    ข้อเสียของเครื่องแบบสองช่องคือ มีราคาสูงกว่าและกินไฟมากกว่า ในเครื่องรับรุ่นใหม่บ้างก็มักใช้แบบIC ที่สามารถเพิ่มช่องรับสัญญาณที่สองในราคาที่ไม่ต่างกับราคานาฬิกา
ดี ๆ หนึ่งเรือน    แต่กระนั้นเครื่องแบบสองช่องยังมีราคาแพงกว่าเครื่องแบบช่องเดียวมาก ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ใช้สองช่องมักต้องการความถูกต้อง และต้องการเครื่องที่แข็งแรงและสามารถควบคุมสังเกตการณ์แสดงผลที่ดีกว่า

        2. Continuous Receivers ได้แก่ เครื่องรับที่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมกันได้ตั้งแต่ ดวงขึ้นไป และสามารถแสดงผลค่าตำแหน่งและความเร็วได้ทันที การรับดาวเทียมได้ทั้ง ดวง พร้อมกับที่มีค่าในการวัดหาในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งรวดเร็วหรือต้องการความถูกต้องสูง ดังนั้นเครื่องแบบนี้จึงนำมาใช้ในงานรังวัดและทางด้านวิทยุ ซึ่งจะพบว่าจะมีช่องรับสัญญาณทั้ง 4,5,8 10 และ 12 ช่อง   นอกจากข้อดีที่ใช้วัดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องได้แล้ว เครื่องรับ GPS แบบหลายช่องสามารถช่วยขจัดปัญหา GDoP ได้อีกด้วย คือ แทนที่จะรับดาวเทียม ดวงใดก็ได้ จะคำนวณหาค่า GDoP ดาวเทียม ดวงของกลุ่มดาวเทียมที่ขึ้นอยู่ และทำการวัดจากดาวกลุ่มที่มีค่า GDoP ต่ำสุด   เครื่องรับ 4ช่องสัญญาณ สามารถให้ค่า Signal to Noise Ratio เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของเครื่อง ช่อง และเป็นสี่เท่าของเครื่องรับแบบช่องเดียว และโดยการเปรียบเทียบค่าการรับของแต่ละช่อง เครื่องสามารถปรับตั้งค่าพิกัดเทียมระหว่างช่องรับสัญญาณ ซึ่งช่วยทำให้การวัดมีความถูกต้องดีขึ้น    นอกเหนือจากข้อดี ข้อเสียที่กล่าวแล้ว ยังมีข้ออื่นมาพิจารณาอีกคือ        มีเครื่องแบบใหม่สามารถได้ค่าความถูกต้องสูงมาก โดยการใช้ทั้งรหัส Pseudo Random ที่กล่าวมาแล้ว และใช้ความถี่ของคลื่นพาห์ (Carrier Frequency) ซึ่งทำให้เครื่องรับทำงานมีความเที่ยงสูง ที่รหัส Pseudo Random ไม่สามารถให้ได้ และใช้ในการวัดหาเวลาได้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งช่วยในการบอกตำแหน่งได้ดีขึ้นด้วย และมีบางเครื่องที่ไม่ต้องใส่ค่าประมาณตำแหน่งและเวลา โดยประมาณให้เครื่องก่อนทำการวัด เครื่องรับแบบนี้ใช้ตัวเองใส่ค่าเริ่มตำแหน่งได้โดยตัวมันเอง        ข้อที่ควรพิจารณา  คือ การต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นและความสะดวกบางเครื่องแสดงได้เฉพาะพิกัดภูมิศาสตร์ บางเครื่องไม่สามารถต่อเข้ากับเครื่องมืออื่นหรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (PC) ได้     และข้อใหญ่ที่ต้องพิจารณา ความแข็งแรงทนทานถ้าต้องใช้เครื่องทำงานในพื้นที่ทะเล   หรือในพื้นที่ป่าเขา การใช้ไฟและความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้สำคัญที่จะต้องเอาใจใส่ ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าอัตราของค่าความผิดพลาดจะเพิ่มเป็นสองเท่าของความร้อนในเครื่องเพิ่มทุก 7 องศาฟาเรนไฮต์   เครื่องรับรุ่นใหม่ปัจจุบันได้เพิ่มคุณค่าให้แก่เครื่องรับ GPS อีกหลายประการ เช่น ใช้การประมวลผลที่ซับซ้อน แสดงผลด้วยจอภาพรายละเอียด เครื่องรับ GPS อาจแสดงจุดตำแหน่งบนแผนที่ที่ได้วาดไว้แล้วให้เห็นทันที        

ประโยชน์ของระบบ GPS
1. บอกตำแหน่งว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
2. บันทึกเส้นทางว่าเราไปไหนมาบ้าง
3. ระบบนำร่องนำทางไปจุดหมายที่กำหนด (เครื่องบิน)
4. ระบบติดตามยานพาหนะ
5. ใช้ในการกำหนดจุดพิกัดผิวโลก เพื่องานด้านระบบสารสนเทศภูมศาสตร์ หรือข้อมูล คาวเทียม
6. ใช้ในการสำรวจรังวัดที่ดิน การสำรวจพื้นที่ และการทำแผนที่
7. ใช้ในกิจกรรมทางทหาร
8. ใช้ในการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9. การสำรวจพื้นที่ และการทำแผนที่
10. ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของคน สิ่งของ
11. ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร
12. ใช้ในการขนส่งทางทะเล
13. ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและสิ่งก่อสร้าง
14. ใช้อ้างอิงในการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
15. ใช้ในการออกแบบเครือข่ายคำนวณตำแหน่งที่ตั้ง เช่น โรงไฟฟ้า ระบบน้ำมัน
16. ใช้ติดตามความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม
17. ใช้ในการติดตามอนุรักษ์และควบคุมสัตว์
18. ประยุกต์ใช้ด้านกีฬา
19. ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว
20. ใช้ในด้านความมั่นคงทางทหาร
21. ใช้สำรวจรังวัด ทำแผนที่

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ภาพจากดาวเทียม)


 ภาพจากดาวเทียม
     
     
ดาวเทียม  คือ  วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์  เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก  ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย  เช่น  ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป  หรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ
     ข้อมูลจากดาวเทียม  เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ  ณ  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร  ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี  และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร  และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ  เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว  จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม  ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่  ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้
1) ชนิดของดาวเทียม  แบ่งออกได้ดังนี้
   
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
1.1)  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ  เช่น  ดาวเทียม  GMS  ดาวเทียม  GOES  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลภูมิอากาศเกือบตลอดเวลา  จึงเป็นประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย
ดาวเทียมสมุทรศาสตร์

1.2)  ดาวเทียมสมุทรศาสตร์  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์  เช่น  ดาวเทียม SEASAT  จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์  และดาวเทียม  MOS  (Marine  Observation  Satellite)  นอกจากจะใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจบนแผ่นดินแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก  เป็นต้น
1.3)  ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก  จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย  เช่น  ดาวเทียมธีออส  THEOS  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย  ส่วนดาวเทียม  LANDSAT  ของสหรัฐอเมริกา  ดาวเทียม  SPOT  ของประเทศฝรั่งเศส  ดาวเทียม  ERS  ของกลุ่มประเทศยุโรป  ดาวเทียม  RANDARSAT  ของประเทศแคนาดา  เป็นต้น
1.4) ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม  เช่น  การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์  โทรสาร  ข่าวสาร  ภาพโทรทัศน์  รายการวิทยุ  ข้อมูลข่าวสาร  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา  โดยหลายประเทศจะมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศของตนเอง  เช่น  ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม  ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมซากุระ  ประเทศฝรั่งเศสมีดาวเทียมยูริสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมเวสดาร์  แคนาดามีดาวเทียมแอนิค  เป็นต้น
1.5)   ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก  ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  เช่น  เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ  จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค  การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไปโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด  เป็นต้น
1.6) ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร  การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก  การศึกษาแนวพรมแดน  การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร  ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ  และดาวเทียมทั่วไปก็อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเพื่อใช้งานทางทหาร  เช่น  การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ  การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการทางทหารต่างๆ  เป็นต้น
2)  การแปลความหมายภาพจากดาวเทียม  สามารถทำได้  ดังนี้
2.1)  ในกรณีที่พิมพ์ข้อมูลเป็นภาพพิมพ์  อาจจะเป็นภาพขาว – ดำ  หรือภาพสี  จะแปลความหมายโดยใช้วิธีเดียวกับการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ
2.2) ในกรณีที่เป็นข้อมูลตัวเลข  ข้อมูลตัวเลขที่ได้จากดาวเทียมจะถูกแปลงเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมเฉพาะในการแปลความหมาย  อาจจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยจัดกลุ่มข้อมูลตามหลักสถิติ  แล้วจึงกำหนดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ต่อไป
3) ประโยชน์ของข้อมูลจากจานดาวเทียม  ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์  ดังนี้
3.1)  ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  หลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบ  และได้มีการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว  เช่น  พื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า  พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดไม้  จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่างต่อเนื่อง  เช่น  การเข้าไปสังเกตการณ์  การตรวจวัดหรือตรวจสอบ  แต่ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่  การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้
                         ตัวอย่างเช่น  จากการสำรวจพบว่าในปี  พ.ศ.  2516  ไทยมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ  43.21  ของพื้นที่ประเทศ  แต่ในปี  พ.ศ.  2536  ลดลงเหลือเพียงร้อยละ  26.02  ของพื้นที่ประเทศ  จากข้อมูลนี้จึงทำให้มีการรณรงค์เพื่อรักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น  เป็นต้น  นอกจากนี้ข้อมูลจากดาวเทียมยังใช้ในการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้  โดยเฉพาะป่าต้นน้ำลำธาร  สำรวจพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ  ศึกษาไฟป่า  หาพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าแทนบริเวณที่ถูกบุกรุก
3.2)  ด้านการทำแผนที่  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง  เช่น  แผนที่ธรณีวิทยา  แผนที่ดิน  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงช้า  และข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เช่น  การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า  การใช้ที่ดิน  เป็นต้น  สำหรับในประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมค่อนข้างจำกัด  สำหรับการจัดทำแผนที่เฉพาะเรื่อง  บทบาทสำคัญของข้อมูลดาวเทียมจึงใช้ในการปรับปรุงแผนที่เดิมที่มีอยู่แล้ว  เช่น  การปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศ  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน  เป็นต้น  ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่สำคัญ  เช่น  ดาวเทียม  LANDSAT  ดาวเทียม  SPOT  และ  MOS-1  เป็นต้น
3.3)  ด้านอุตุนิยมวิทยา  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วงเวลาตลอด  24  ชั่วโมง  ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยำและทันเหตุการณ์
           ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันและเตือนภัยพิบัติ  ลดความสูญเสียที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง  เช่น  การเกิดฝนฟ้าคะนอง  การเคลื่อนตัวของพายุ  การเกิดน้ำท่วม  เป็นต้น  ทำให้สามารถวางแผนการช่วยเหลือและฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม
         ในปัจจุบันดาวเทียมมีบทบาทมากขึ้นในหลายด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  ด้านความบันเทิง  ด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านธรณีวิทยา  ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา  หรือแม้แต่ด้านโทรคมนาคม  และดาวเทียมก็ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ภาพถ่ายทางอากาศ)


รูปถ่ายทางอากาศ
       
รูปถ่ายทางอากาศ  คือ  รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ  โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม  หรือข้อมูลเชิงเลข  ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน  อันได้แก่  บัลลูน  เครื่องบิน  เป็นต้น  ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ด้วย  ปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน  และกำหนดมาตราส่วนของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี  กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า  เลนส์ยาวกว่า  และใช้ฟิล์มขนาดใหญ่  ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ  24 x  24  เซนติเมตร  รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด  นอกจากนี้  รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน  จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ  หรือทรวดทรงของผิวโลกได้  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์
ภาพถ่ายแนวดิ่ง
1) ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ  รูปถ่ายทางอากาศ  มี  2  ประเภทใหญ่ๆ  ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้
1.1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า
1.2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง  เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกำหนดแกนของกล้องในลักษณะเฉียง  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูง  ลักษณะรูปถ่ายจะเห็นแนวขอบฟ้าเป็นแนวกว้างใหญ่
2)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงต่ำ  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ไม่ปรากฏเส้นขอบฟ้าในภาพรูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูงและแนวเฉียงต่ำใช้แสดงภาพรวมของพื้นที่แต่มีมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศแตกต่างกัน  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมีมาตราส่วนในรูปค่อนข้างคงที่  จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ทำแผนที่
2) หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ  มีหลักการ  ดังนี้
         2.1)  ความแตกต่างของความเข้มของสี  วัตถุต่างชนิดกันจะมีการสะท้อนคลื่นแสงต่างกัน  เช่น  ดินแห้งที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมจะสะท้อนคลื่นแสงมาก  จึงมีสีขาว  น้ำดูดซับเคลื่อนแสงมากจะสะท้อนคลื่นแสงน้อย  จึงมีสีดำ  บ่อน้ำตื้นหรือมีตะกอนมากจะสะท้อนคลื่นแสงได้ดีกว่าบ่อน้ำลึกหรือเป็นน้ำใส  ป่าไม้หนาทึบจะสะท้อนคลื่นแสงน้อยกว่าป่าไม้ถูกทำลาย  ดังนั้น  ป่าไม้แน่นทึบจึงมีสีเข้มกว่าป่าถูกทำลาย  เป็นต้น
         2.2)  ขนาดและรูปร่าง  เช่น  สนามฟุตบอลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่  เป็นต้น
         2.3)  เนื้อภาพและรูปแบบ  เช่น  ป่าไม้ธรรมชาติจะมีเรือนยอดเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้างมีระดับสูงต่ำ  และไม่เรียงเป็นระเบียบ  ส่วนป่าปลูกจะมีเรือนยอดสูงใกล้เคียงกันละเรียงเป็นระเบียบ  เป็นต้น
           2.4)  ความสูงและเงา  ในกรณีที่วัตถุมีความสูง  เช่น  ต้นไม้สูง  ตึกสูง  เป็นต้น  เมื่อถ่ายรูปทางอากาศในระดับไม่สูงมาก  และเป็นช่วงเวลาเช้า  หรือเวลาบ่ายจะมีเงา  ทำให้ช่วยในการแปลความหมายได้ดี
            2.5)  ตำแหน่งและความสัมพันธ์  เช่น  เรือในแม่น้ำ  เรือในทะเล  รถยนต์บนถนน  ต่างแสดงตำแหน่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  เป็นต้น
                2.6)  ข้อมูลประกอบ  เช่น  ใช้แผนที่การใช้ที่ดิน  แผนที่ป่าไม้ประกอบการแปลความหมายด้านการใช้ที่ดินและป่าไม้  เป็นต้น
              2.7)  การตรวจสอบข้อมูล  ผู้แปลจะต้องมีความรู้ที่จะนำองค์ประกอบมาผสมผสานกัน  การตรวจสอบข้อมูลภาคสนามจะช่วยให้การแปลความหมายถูกต้องแม่นยำ  แต่รูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายในช่วงปีที่แตกต่างกันจะช่วยทำให้เห็นลักษณะการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทั้งโดยกิจกรรมของมนุษย์และตามสภาพธรรมชาติ
             3)  ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ  มีดังนี้
                         1.  การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ
                         2.  การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ
                         3.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                         4.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน
                         5.  การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี
                         6.  การสำรวจและการติดตามด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ลูกโลก)

 ลูกโลกจำลอง
      ลูกโลกจำลอง  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลกแสดงที่ตั้งอาณาเขตพรมแดนของประเทศต่างๆ และลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี  ลูกโลกจำลองแสดงสิ่งต่อไปนี้
1)   รูปทรงของโลก  โลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม  คือ  ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร  โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร  ยาว  12,756  กิโลเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว  12,714  กิโลเมตร  จึงเห็นได้ว่ารูปร่างของโลกไม่เป็นทรงกลมอย่างแท้จริง  บนผิวโลกจะมีองค์ประกอบหลัก  2  ส่วน  คือ  ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ  ได้แก่  ทะเล  มหาสมุทรต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  375  ล้านตารางกิโลเมตร  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ได้แก่  ทวีปและเกาะต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  150  ล้านตารางกิโลเมตร  เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว  โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ  525  ล้านตารางกิโลเมตร  โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ  2  ใน  3  ส่วน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  1  ใน  3  ส่วน
                         ดังนั้น  การสร้างลูกโลกจำลองจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก  แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกจำลองแล้ว  จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร  และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้  จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก  จึงเห็นได้ว่ารูปโลกจำลองมีลักษณะทรงกลม  เพราะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  เมื่อเทียบกับขนาดจริงของโลก
2)  ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง  ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง  ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  2  แบบ  ดังนี้
2.1)  ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก  โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น  2  ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ซึ่งได้แก่ น้ำทะเล  มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ซึ่งได้แก่  รายละเอียดของทวีป  ประเทศ  ที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองสำคัญ
2.2)  ส่วนที่สมมติขึ้น  ลูกโลกจำลองจะแสดงเส้นเมริเดียนที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้  และเส้นขนานที่ลากรอบโลกขนานกับเส้นศูนย์สูตร  เส้นทั้งสองมีไว้เพื่อบอกพิกัดภูมิศาสตร์เป็นค่าของละติจูด  และลองจิจูดของตำแหน่งต่างๆ  ที่อยู่บนพื้นผิวโลก

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (แผนที่)

แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากเนื่องจากการเรียนวิชานี้ต้องกล่าวถึงสถานที่ที่มีขนาดต่างกัน  ทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้น  ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก  และสิ่งที่จะสามารถนำมาใช้อธิบายสภาพพื้นที่  สถานที่ได้ดีที่สุด  คือ  แผนที่
1.)         ความหมายของแผนที่  พจนานุกรมศัพท์ทางภูมิศาสตร์  ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า  “แผนที่  หมายถึง  สื่อรูปแบบหนึ่งที่ถ่ายทอดข้อมูลของโลกในรูปกราฟิก  โดยการย่อส่วนให้เล็กลงด้วยมาตราส่วนขนาดต่างๆ  และเส้นโครงแผนที่แบบต่างๆ  ให้เข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ด้วยการใช้สัญลักษณ์”  ดังนั้น  จึงกล่าวไว้ว่า  แผนที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก  และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก  และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  ด้วยการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงตามอัตราส่วนที่ต้องการและใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ  ที่มีอยู่จริงบนผิวโลก  ทั้งนี้จะคงความเหมือนจริงทั้งขนาด  รูปร่าง  ทิศทาง  และตำแหน่งที่ตั้งไว้
2.)        ชนิดของแผนที่  แผนที่สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดหลายลักษณะ  ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง  ทั้งนี้โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็น  2  ชนิด  คือ
                                      2.1)  แผนที่ภูมิประเทศ  (Topographic  Map)  เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิลักษณ์แบบต่างๆ  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  ภูเขา  ที่ราบสูง  ที่ราบ  แม่น้ำ  ทะเล  ทะเลสาบ  เป็นต้น  และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น เมือง  หมู่บ้าน  พื้นที่เกษตรกรรม  อ่างเก็บน้ำ  ถนน  ทางรถไฟ  เป็นต้น

                                     แผนที่ภูมิประเทศแสดงความสูงต่ำของผิวโลกด้วยเส้นชั้นความสูง  (contour  line)  และหมุดระดับ  (bench  mark)  จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร  แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้กันมากมี  2  มาตราส่วน  ได้แก่  แผนที่มาตราส่วนเล็ก  คือ  มาตราส่วน  1 : 250,000  และแผนที่มาตราส่วนใหญ่  คือ  มาตราส่วน 1 : 50,000  เนื่องจากแผนที่ภูมิประเทศทั้งสองมาตราส่วนจัดทำขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาจากรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม  จึงได้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลกที่ถูกต้องและทันสมัย  มีจุดพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงได้  จึงเป็นแผนที่ที่มีความนิยมใช้ในงานสาขาอื่นๆ  เช่น  การสร้างถนน  การสร้างเขื่อน  การสร้างเมืองใหม่  การป้องกันอุทกภัย  เป็นต้น
                                        2.2)  แผนที่เฉพาะเรื่อง  (Thematic  Map)  เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เช่น  แผนที่ประชากร  แผนที่อากาศ  แผนที่ป่าไม้  แผนที่ท่องเที่ยว แผนที่เหล่านี้จะมีการสำรวจเพิ่มเติมหรือปรับแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยเป็นระยะๆ  ไปมาตราส่วนของแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายตามลักษณะข้อมูลที่ต้องการแสดง  แต่ส่วนมากจะเป็นมาตราส่วนเล็ก  เช่น  มาตราส่วนเล็กกว่า  1 : 1,000,000  1 : 500,000  หรือ 1 : 250,000  เป็นต้น  ส่วนแผนที่เฉพาะเรื่องที่มีลักษณะเชิงวิชาการ  เช่น  แผนที่ชุดดิน  แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน  แผนที่ธรณีวิทยาและแหล่งแร่  อาจทำเป็นแผนที่มาตราส่วน  1 : 100,000  หรือ  1 : 50,000  แต่พื้นที่เฉพาะเรื่องบางชนิดที่ต้องการแสดงเฉพาะพื้นที่ขนาดเล็ก  เช่น  ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลหรือหมู่บ้านอาจจะมีการจัดทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่ได้

                                    เนื่องจากแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายชนิดมาก  จึงได้นำเสนอตัวอย่างเพียงบางชนิด  ดังนี้
     (1)        แผนที่ท่องเที่ยว  มีการจัดทำทั้งในระดับประเทศ  ระดับภาค  และระดับจังหวัด  โดยเน้นข้อมูลด้านการเดินทาง  ได้แก่  ถนน  ทางรถไฟ  ที่ตั้งจังหวัด  อำเภอ  สถานที่  ท่องเที่ยว  สถานที่พัก  ร้านอาหาร  แผนที่ท่องเที่ยวมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย  ดังนั้นจึงมักจัดพิมพ์มาตราส่วนเล็ก  เช่น 1 : 1,000,000  หรือ  1 : 2,000,000  หรือเล็กกว่า  เป็นต้น
แผนที่สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอยุธยา

   (2)       แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม  แผนที่นี้จัดทำโดยกรมทางหลวง  เพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม  ได้แก่  ถนน  ทางรถไฟ  สนามบิน  เป็นหลัก  แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมมีประโยชน์เพื่อใช้กำหนดเส้นทาง  ระยะทางโดยประมาณ และการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหา  เนื่องจากมีข้อมูลไม่มากนัก  แผนที่ที่พิมพ์ออกมาจึงมีมาตราส่วนเล็ก  เช่น  1 : 1,000,000  หรือเล็กกว่า  เป็นต้น
แผนที่เส้นทางคมนาคม
 (3)       แผนที่ธรณีวิทยา  เป็นแผนที่ที่แสดงอายุของหิน  หน่วยหิน  ชนิดหิน  และโครงสร้างทางธรณีวิทยา  นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูลประกอบอื่นๆ  เช่น  ทางหลวงสายสำคัญ  ที่ตั้งของจังหวัด  เป็นต้น โดยข้อมูลประกอบจะแตกต่างกันไปตามมาตราส่วน แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน                    1 : 1,000,000  1 : 250,000  และ  1 : 50,000  จะมีการนำมาใช้งานมาก  ซึ่งแผนที่นี้จัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณี
แผนที่อุทกธรณีวิทยา

          (4)       แผนที่การใช้ที่ดิน  แผนที่นี้แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน  โดยเฉพาะด้านการเกษตร  มาตราส่วนที่จัดทำ  เช่น  1 : 1,000,000  และ  1 : 250,000  และ  1 : 50,000  และเนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว  แผนที่การใช้ที่ดินจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา  ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดและต้องใช้เวลามาก  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อจัดทำแผนที่การใช้ที่ดินทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น  แผนที่นี้จัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดินหรือสำรักงานเศรษฐกิจการเกษตร
แผนผังการใช้ที่ดินในจังหวัดนครราชสีมา

3.)          องค์ประกอบแผนที่  แผนที่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

4.)        การอ่านแผนที่  แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตหลายประการ  เช่น  ใช้แผนที่ในการเดินทาง  การวางแผนการท่องเที่ยว  การศึกษาสภาพของพื้นที่เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ  เป็นต้น  ดังนั้น  ผู้ใช้หรือผู้ศึกษาแผนที่จึงควรมีความรู้และความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ  ของแผนที่  และฝึกฝนการอ่านแผนที่อยู่เสมอ  จึงจะสามารถอ่านแผนที่ได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็ว  และนำข้อมูลที่ต้องการจากแผนที่ไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์
 จากแผนที่ภูมิประเทศบริเวณเขาพนมรุ้ง  มาตราส่วนเดิม  1 : 50,000  ของกรมแผนที่ทหาร  มีข้อมูลและข่าวสารด้านภูมิลักษณ์  ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้นแสดงด้วยสัญลักษณ์แผนที่  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
5.)        ประโยชน์ของแผนที่  แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการศึกษาสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  และเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ของมนุษย์  ดังนี้
  1.  ใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง  เป็นต้น
  2. ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว  การวางแผนการท่องเที่ยว  รวมถึงการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
  3. ใช้ในการรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ  ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  เป็นต้น
  4. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบสาธารณูปโภค  เช่น  วางแผนการตัดถนน  วางระบบโทรคมนาคม  วางสายไฟฟ้า  วางท่อประปา  การสร้างเขื่อน  เป็นต้น
  5. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  เช่น  แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร  แผนที่แสดงแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ  ซึ่งช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป  เป็นต้น
  6. ใช้ในกิจการทางทหาร  โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ เช่น  การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร  การทิ้งระเบิดโจมตีทางอากาศ  เป็นต้น
  7. ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เช่น  ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและปักปันเขตแดน  เป็นต้น
  8. ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่  เช่น  ศึกษาชนิด  คุณภาพ  และการกระจายดิน ธรณีวิทยา  ป่าไม้  เป็นต้น

การศึกษา



More »

ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว



More »